Pages

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ซื้อบ้านมือสองจากสถาบันการเงิน

ทรัพย์สินของสถาบันการเงินต่าง ๆ มีมากมายให้ท่านเลือกแต่ทรัพย์าสินที่ว่านั้นท่านต้องเลือกดี ๆ ทำเล ราคา สภาพของบ้านดีไหม หรือมีคนอยู่ในบ้าน(ไล่แล้วไม่ยอมไป)เป็นต้น

เมื่อท่านเริ่มสนใจทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งต้องไปดูแลก่อนทุกครั้งไม่ต้องรีบตัดสินใจโดยให้เจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินนั้น ๆ พาไปชมทรัพย์ อย่าลืมสำรวจบ้านให้ละเอียดตามแบบสำรวจที่ให้มา ทรัพย์สินของสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่จะต้องมีการซ่อมแซม ดังนั้นหากจะตัดสินใจซื้อควรนำผู้รับเหมาไปด้วยเพื่อประมาณราคาซ่อมแซม แล้วค่อยตัดสินใจ ราคาเมื่อซื้อไปแล้วเป็นราคาตลาดหรือเปล่า แพงหรือถูกหรือเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าราคาตรงกับราคาตลาดไหม วิธีง่าย ๆ เช็คจากบริษัทนายหน้า บริษัทประเมินราคาทรัพย์สิน สื่อต่าง ๆ และเว็บไซต์ ต่างๆ

ในกรณีเป็นที่ดินเปล่า ให้เช็คถนนว่าเป็นถนนสาธารณะหรือเปล่า ถ้าไม่ระบุในโฉนด ให้ประเมินไว้ก่อนว่าที่ดินนั้นตาบอดหรือไม่ วิธีการตรวจสอบให้ไปกรมที่ดินนั้น ๆ แล้วถ่ายแผนระวางจากนั้นเจ้าหน้าที่ดินจะช่วยตรวจสอบให้ หรือสำนักเขตในพื้นที่นั้น ๆ

ปัญหาของราคาที่เสนอซื้อจากสถาบันการเงิน ราคาคาอาจจะไม่ค่อยลงกันซักเท่าไร แต่ก็นั้นละสถาบันการเงินก็มีต้นทุนเช่นกัน อย่าไปต่อเขามาก ให้ประเมินจากความต้องการของท่านดีกว่าถึงแม้ว่ามันจะแพงไปนิด ซื้อ บ้านมือสอง จากบุคคลที่เป็น NPLหรือบุคคลทั่วไป(NPL=บุคคลที่มีปัญหาหนี้ค้างชำระกับธนาคาร)

ในกรณีนี้ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะรู้ได้อย่างไร อาจจะดูยากนิดนึง เพราะบุคคลเหล่านี้จะไม่ยอมบอกแม้กระทั้งนายหน้ามืออาชีพก็ไม่รู้ จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีการอายัดทรัพย์ ณ สำนักงานที่ดิน (มีใบแดง/ใบอายัดทรัพย์แนบในเอกสารสำนักงานที่ดิน)
ในกรณีนี้นายหน้าขายบ้านอาชีพ จะทำตัวเป็นนักสืบโดยหาคำตอบให้ได้ว่าเป็นหนี้ธนาคารเท่าไหร่ ไถ่ถอนให้ธนาคารแล้วเหลือเท่าไหร่ (เรื่องนี้สำคัญ) ที่พูดถึงกรณีนี้เคยมีปัญหามาแล้ว ผู้ขายเป็น NPL รับเงินมัดจำจะซื้อแล้วให้ทำดังนี้

1. เช็คยอดที่จะต้องไถ่ถอนจำนองที่จดจำนองหรือฝากขาย ให้ทำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายธนาคารระบุชื่อธนาคารที่จดจำนองนั้นเลย
2. ให้ธนาคารออกใบยืนยันยอดชำระที่จะต้องชำระค่าไถ่ถอน(ทำได้)
3. วางมัดจำไม่ต้องมากโดยขอความร่วมมือจากผู้ขายติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารคนไหน อย่างไร
4. ผู้ซื้อตรวจสอบยอดหนี้ด้วยตัวเอง
5. ไปโอนและไม่ต้องวางเงินมัดจำ

บุคคลทั่วไปที่ไม่เป็น NPL
ในกรณีที่ผู้ขายอาจจะจดจำนองธนาคารอยู่หรือไม่เป็นหนี้ใคร เป็นเรื่องปกติบ้านขายโดยทั่วไปส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ธนาคารกันทั้งนั้น วิธีการอาจจะใช้วิธีเดียวกับข้างบน แต่ขอเตือนการำทำสัญญาจะซื้อขายให้ทำกับเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ถ้าหากมีบุคคลอ้างตัวว่าเป็นญาติ, ลูกหลานหรือป็นอะไรก็แล้วแต่ ขอดูใบมอบอำนาจก่อน แล้วจะรู้ได้อย่างไร

- ดูจากสารบัญโฉนดทีดินจะระบุเจ้าของกรรมสิทธิ์ชัดเจน
- ดูจากหนังสือสัญญาขายที่ดินจะมีลายเซ็นอยู่ก็เอามาเปรียบเทียบ แต่หากว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจให้คนอื่นมาเมื่อครั้งก่อนก็จะมีลายเซ็นเขา
- บัตรประชาชน + ทะเบียนบ้านตรงกับใบมอบหรือเปล่า
- ทำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าของกรรมสิทธิ์ ห้ามจ่ายเป็นเงินสด หรือสั่งจ่ายให้บุคคลอื่นเด็ดขาด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น



ShoutMix chat widget